กรุงเทพฯ 14 มีนาคม 2556: สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ในการจัดทำแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้า อย่างเป็นทางการ หวังยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไมซ์ของไทย ช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ยุคสังคมคาร์บอนต่ำ (Low carbon society) เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าของไทยในระดับสากล
เป็นที่ทราบกันดีว่า “ภาวะโลกร้อน” (Global warming) หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change) ที่กำลังส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกในปัจจุบัน ทำให้ประเทศต่างๆ หันมาสนใจและตระหนักถึงภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ภาคอุตสาหกรรมหรือธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งใช้พลังงานในกระบวนการผลิตจึงถูกมองว่า เป็นต้นเหตุหลักของที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอันเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน ที่ผ่านมาประชาคมโลกได้เห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหายังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนัก เนื่องจากทุกประเทศต่างมองเรื่องการค้าและผลประโยชน์ของประเทศเป็นสำคัญ ทำให้เกิดแนวทางการแก้ไขปัญหาโลกร้อนภายใต้แนวคิด “สังคมคาร์บอนต่ำ” หรือที่เรียกกันว่า “Low carbon society” ที่มองว่าเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนต้องเกิดจากภาคการผลิตและภาคผู้ บริโภคดำเนินการด้วยกันโดยมีระบบการตลาดเป็นเครื่องมือช่วยนำไปสู่การลดก๊าซ เรือนกระจก
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ (Carbon Footprint) คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาทั้งจากกิจกรรมในประจำวัน จากวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ จากกิจกรรมการบริการ จากการดำเนินงานขององค์กร เป็นแนวทางหนึ่งสำหรับใช้แก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ
นายธงชัย ศรีดามา กรรมการ ปฏิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “ทีเส็บ ในฐานะหน่วยงานภาครัฐอันมีบทบาทในการขับเคลื่อนให้เกิดการเติบโตของอุตสาหกร รมไมซ์ในประเทศไทย ทั้งบริบทของการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนการสร้างมาตรฐานให้แก่อุตสาหกรรมในองค์รวมนับเป็นยุทธศาสตร์การดำเนิน งานขององค์กร ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น ทีเส็บได้สนับสนุนและส่งเสริมมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมไมซ์เป็นจำนวน 5 มาตรฐาน โดยเฉพาะการพัฒนามาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการให้ความสำคัญและดำเนินธุรกิจ ไมซ์แบบใส่ใจสิ่งแวดล้อมนั้นมีการพัฒนาไปแล้วจำนวน 2 มาตรฐาน ทั้งมาตรฐานด้านการจัดการพลังงาน ISO 50001 และ มาตรฐานการจัดการและบริหารธุรกิจอีเว้นต์อย่างยั่งยืน ISO 20121”
“อุตสาหกรรมไมซ์ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการแสดงสินค้ามีบทบาทต่อทุกๆ การเติบโตของทุกอุตสาหกรรมของประเทศ เพราะการจัดงานแสดงสินค้าเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่สำคัญ ในการนำเสนอสินค้า ผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามการจัดงานแสดงสินค้าได้ก่อให้เกิดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง ต่อเนื่อง โดยทีเส็บได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในประเด็นดังกล่าว จึงได้ดำเนินงานร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) จัดทำแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์ของอุตสาหกรรมงานแสดงสินค้า ซึ่งความร่วมมือในการจัดทำครั้งนี้ จะทำให้ผู้ประกอบการด้านงานแสดงสินค้าสามารถประเมินถึงผลกระทบจากการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกในการจัดงาน การบริหารจัดการงานเพื่อลดภาวการณ์ทำลายสิ่งแวดล้อม อาทิ การประหยัดการใช้พลังงาน การลดการใช้วัตถุดิบ การรีไซเคิล เป็นต้น ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างกรอบแนวทางที่ชัดเจน เป็นการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และท้ายสุดเป็นการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแสดงสินค้าไทยใน ระดับสากล”
ด้าน นางประเสริฐสุข จามรมาน รักษาการผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) กล่าวว่า “สาเหตุสำคัญที่ทาง อบก. สนใจโครงการนี้ เนื่องจากที่ผ่านมามีผู้ประกอบการด้านการจัดงานอีเว้นท์มีความสนใจติดต่อสอบ ถามมายัง อบก. เป็นจำนวนมากถึงการประเมินแนวทางการจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ในการดำเนินธุรกิจ โดยปัจจุบันต่างประเทศได้มีการคำนวณออกมาอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งหน่วยงานในประเทศไทยได้มีการคำนวณเช่นกัน หากแต่ยังขาดมาตรฐานการรองรับความถูกต้องของข้อมูล จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ อบก. ทำงานร่วมกับทีเส็บเพื่อพัฒนาข้อกำหนดนี้ขึ้นให้เป็นมาตรฐานสำหรับผู้ประกอบ การไมซ์ โดยมาตรฐานการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ของประเทศไทยเป็นมาตรฐานในระดับประเทศ ที่อ้างอิงตามมาตรฐานของต่างประเทศ และนำไปใช้เป็นแนวทางสำหรับการประเมินการจัดงานเชิงธุรกิจที่มุ่งเน้นถึงการ ใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่สอดรับกับความต้องการในระดับนานาชาติ”
“อบก.ได้สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการประเมิน คาร์บอนฟุตพริ้นท์บริการงานอีเว้นท์ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการคำนวณ โดยเริ่มต้นที่อุตสาหกรรมการแสดงสินค้าซึ่งนับเป็นหนึ่งในธุรกิจไมซ์ที่ก่อ ให้เกิดภาวะโลกร้อนค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับแขนงอื่นๆ อย่างอุตสาหกรรมการประชุม และการจัดงานเชิงธุรกิจทั่วๆไป นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนงบประมาณด้านการสร้างการรับรู้ ตลอดจนประชาสัมพันธ์หน่วยงานที่ดำเนินการด้านคาร์บอนฟุตพรินต์ให้เป็นที่ รู้จักแก่สาธารณชนอันจะเป็นส่วนผลักดันให้ผู้ประกอบการไมซ์ของไทยเข้าร่วม โครงการมากยิ่งขึ้น”
สำหรับขั้นตอนการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์สำหรับอุตสาหกรรมการแสดงสินค้านั้น เริ่มต้นจาก
1. การเข้าสู่เว็บไซต์ www.tgo.or.th เพื่อดาวน์โหลดเอกสารใบสมัคร /ข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ /ฟอร์มการจัดทำข้อกำหนดเฉพาะของผลิตภัณฑ์ / เอกสารเพื่อตรวจสอบ และรูปแบบนำเสนอข้อมูลต่อ อบก.
2. เข้าสู่ขั้นตอนการจัดจ้างที่ปรึกษาหรือเป็นที่ปรึกษาเองในกรณีมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านนี้ เพื่อคำนวณ
3. ทวนสอบข้อมูลที่คำนวณโดยผู้ทวนสอบข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์
4. จัดส่งข้อมูลเพื่อสมัครขอขึ้นทะเบียนกับ อบก.
5. อบก. ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณชน
ใน กรณีที่ผู้ประกอบการไม่เคยมีประสบการณ์ในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์มาก่อน มีความจำเป็นต้องใช้บริการที่ปรึกษาในครั้งแรก สามารถดูข้อมูลรายชื่อที่ปรึกษาบนเว็บไซต์ฉลากคาร์บอน thaicarbonlabel.tgo.or.th ส่วนในครั้งต่อไปหลังจากที่มีประสบการณ์แล้ว นั้นผู้ประกอบการสามารถประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นต์ได้ด้วยตนเอง
“หากผู้ประกอบการไมซ์ได้เริ่มเห็นถึงความสำคัญ และนำแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นต์มาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าในกลุ่มลูกค้าโดยเฉพาะจากประเทศในแถบสหภาพ ยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น ที่มีการตื่นตัวและเห็นความสำคัญของการดำเนินงานด้านโลกร้อนและเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ โดยในระยะต่อไปทีเส็บจะได้ขยายแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ไปในภาค อุตสาหกรรมไมซ์อื่นๆ ทั้งธุรกิจการประชุม และธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล” นายธงชัย กล่าวสรุป
# # #
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อคุณเอมี่ ตัน ผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ บริษัท โปร มีเดีย พีอาร์ จำกัด มือถือ 082-486-9797อีเมล์ : amytanevent2012@gmail.com