ทีเส็บเดินหน้าแผนแม่บทเฟส 2 ดันเชียงใหม่เมืองไมซ์แห่งอาเซียน

เชียงใหม่ / 26 กันยายน 2556 - สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่ เดินหน้าโร้ดแม็พ “เชียงใหม่ไมซ์ซิตี้” ระยะที่ 2 เร่งส่งเสริมตลาดภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมืออนุภาคลุ่มน้ำโขง และประเทศในกลุ่มอ่าวเบงกอล พร้อมจัดโครงการ “ประชุมเมืองไทย มั่นใจเชียงใหม่พร้อม” มุ่งสร้างความรู้และความเข้าใจ เสริมทักษะผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วางรากฐานอุตสาหกรรมไมซ์ ผลักดันให้เมืองเชียงใหม่ก้าวสู่เป้าหมายศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์แห่งอา เซียน


นายนพรัตน์ เมธาวีกุลชัยผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า “ทีเส็บตระหนักถึงศักยภาพของจังหวัดเชียงใหม่ในการพัฒนาสู่เมืองไมซ์ซิตี้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย เมื่อรัฐบาลกำหนดให้ปี 2556 เป็น Year of MICE ของเชียงใหม่ จึงได้ริเริ่มการจัดประชุมไมซ์ซัมมิทขึ้นในเดือนมกราคม 2556 เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับจังหวัดเชียงใหม่และภาคีเครือข่ายอีก 7 หน่วยงาน ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำเชียงใหม่ เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ หรือ Chiang Mai Creative City (CMCC) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในนามผู้แทนมหาวิทยาลัยภาคเหนือ 8 แห่ง กำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาเชียงใหม่ให้เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการ จัดประชุมและนิทรรศการของประเทศและภูมิภาคอาเซียนภายในระยะเวลา 5 ปี”


ตามแผนแม่บทดังกล่าว แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรกในปี 2556 จะเน้นการทำตลาดในประเทศและวางรากฐานอุตสาหกรรมไมซ์ มุ่งเน้นสร้างความรู้ความเข้าใจ พัฒนาโครงการพื้นฐานให้เชียงใหม่เป็นเมืองยุทธศาสตร์ไมซ์ ระยะที่ 2 (ปี 2557-2558) ขยายการส่งเสริมตลาดในระดับภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือในอนุภาคลุ่มน้ำโขง (GMS) และประเทศในอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) รวมทั้งความร่วมมือแบบเมืองพี่เมืองน้องของจังหวัดเชียงใหม่กับเมืองในต่าง ประเทศ และในระยะที่ 3 ระหว่างปี 2559-2560 คือ ยกระดับเชียงใหม่ให้เป็นจุดหมายการประชุมระดับนานาชาติ


“ช่วงที่ผ่านมา ทีเส็บ ได้ทำงานร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ และภาคีเครือข่ายอย่างใกล้ชิดทั้งในด้านการส่งเสริมตลาดทั้งในและต่างประเทศ อาทิ การจัดกิจกรรม Agent Familiarization Trip การสนับสนุนการจัดการประชุม TEDx และล่าสุดการร่วมมือกับมูลนิธิปิดทองหลังพระและสายการบินภายในประเทศ 5 สายการบิน เปิดตัวโครงการ ลัดฟ้าประชุมเมืองไทย อิ่มใจตามรอยพระราชดำริ โดยจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในเส้นทางตัวอย่างของโครงการพระราชดำริที่สามารถจัด ประชุมสัมมนาได้ ด้านตลาดต่างประเทศยังได้สนับสนุนให้จังหวัดเชียงใหม่เข้าร่วมกิจกรรมโร ดโชว์และเทรดโชว์สำคัญ อาทิ งาน Asia-Pacific & Meeting Expo 2013 ณ เมืองเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย พร้อมกันนี้ยังฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องไมซ์ รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูลไมซ์ของจังหวัด เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนทางการตลาดและการพัฒนาที่สำคัญรองรับการแข่งขัน ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558”


สำหรับปี 2557 ทีเส็บยังคงดำเนินงานตามกลยุทธ์ WIN PROMOTE และ DEVELOP ด้าน WIN จะร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่ส่งเสริมตลาดในภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมืออนุภาค ลุ่มน้ำโขง (GMS) และประเทศในอ่าวเบงกอล (BIMSTEC) รวมทั้งความร่วมมือแบบเมืองพี่เมืองน้องของจังหวัดเชียงใหม่กับเมืองในต่าง ประเทศโดยกำหนดอุตสาหกรรมหลักเป็นหัวหอกในการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ เช่น ศิลปะหัตถกรรมและหัตถศิลป์ สิ่งทอ สมุนไพรและสปา สุขภาพและอาหาร โดยยังคงเสน่ห์ของล้านนา ด้านงานแสดงสินค้าภายในประเทศ หรือ Domestic Exhibition จะส่งเสริมการกระจายงานแสดงสินค้าชั้นนำไปยังเชียงใหม่ อาทิ งาน Motor Expo งาน Money Expo และงาน Book Fair และยังดำเนินงานร่วมกับสมาคมท้องถิ่นจัดงานแสดงสินค้าและการจับคู่ธุรกิจ เกี่ยวกับสินค้าด้านบริการและด้านไลฟ์สไตล์ อาทิ การดำเนินงานร่วมกับสมาคมผู้ผลิตและส่งออกสินค้าหัตถกรรมภาคเหนือ นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) ในการส่งเสริมและดึงงานประชุมสัมมนาจากกลุ่มประเทศ GMS BIMSTEC และอื่นๆเข้ามาจัดในจังหวัดเชียงใหม่


ด้าน Promote จะเน้นการพัฒนาข้อมูลและเปิดตัวแอพพลิเคชั่น ประชุมเมืองไทย D-MICE@Chiangmai ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ รวมทั้งการเป็นตัวกลางในการนำหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการไมซในจังหวัด เชียงใหม่เข้าร่วมงานเทรดโชว์และโรดโชว์ที่สำคัญ อาทิ งาน EIBTM ณ เมืองบาเซโลนา ประเทศสเปน และงานโรดโชว์ประเทศญี่ปุ่น ส่วนด้าน Develop นั้นอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ทีเส็บ สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การมหาชน) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการพัฒนา Chieng Mai MICE intelligence center หรือ ศูนย์กลางข้อมูลไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะครอบคลุมถึงการพัฒนาข้อมูลด้านไมซ์ของจังหวัดและงานวิจัยต่างๆ โดยทางจังหวัดจะได้สนับสนุนการรวบรวมข้อมูลและทุนอบรม เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่ครบถ้วนเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการฝึกอบรมและจัดสัมมนาให้กับผู้ประกอบการไมซ์ และสถาบันศึกษา เพื่อผลักดันให้เชียงใหม่เป็นจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์ ช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งให้เชียงใหม่และประเทศโดยรวม พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องทั้งโรงแรม ร้านอาหาร สถานที่จัดประชุม สถานที่ท่องเที่ยว และกระตุ้นการค้า การลงทุนอย่างต่อเนื่อง

ด้าน นายฤทธิพงศ์ เตชะพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยถึงภาพรวมการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ว่า ได้ดำเนินการตามกรอบความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายตามแผนแม่บท “เชียงใหม่ไมซ์ซิตี้” เพื่อผลักดันให้เชียงใหม่เป็นหนึ่งในศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการของ ประเทศและภูมิภาคอาเซียนภายในระยะเวลา 5 ปี


สำหรับการดำเนินงาน ปี 2556 ตามแผนแม่บทในระยะแรกนั้น นายฤทธิพงศ์ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าร่วมและจัดกิจกรรมด้านไมซ์หลากหลายงานที่ช่วยส่งเสริมการตลาด และวางรากฐานความรู้ ความเข้าใจในอุตสาหกรรมไมซ์ให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและผู้สนใจทั่วไป เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของเชียงใหม่ในอนาคต


โดยในปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นปีแห่งไมซ์ (YEAR OF MICE) เชียงใหม่มีการทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมไมซ์ของจังหวัดทั้งในและต่างประเทศมาก ขึ้น โดยจังหวัดเชียงใหม่ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามข้อตกลงความร่วมมือระ หว่างทีเส็บและสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมเมืองซัปโปโรของญีปุ่นเพื่อร่วม ส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์โดยเฉพาะไมซ์ในเชียงใหม่ พร้อมกันนี้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดฮอกไกโดยังร่วมลงนามข้อตกลงร่วมกัน เพื่อร่วมกันส่งเสริมไมซ์ของทั้งสองเมือง รวมถึงการขยายตลาดท่องเที่ยวร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จังหวัดยังได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับ นานาชาติ อาทิ การประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 2 (The 2nd Asia-Pacific Water Summit) การประชุมข้าวโลก (Thailand Rice Convention 2013) นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมอบรมสัมมนาเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และประชาสัมพันธ์อุตสาหกรรมไมซ์ของจังหวัดเชียงใหม่ ตามโครงการเชียงใหม่ MICE City โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจในอุตสาหกรรมไมซ์แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรส่วนท้องถิ่น สื่อมวลชน และผู้ที่สนใจในอุตสาหกรรมไมซ์ จัดกิจกรรม “Year of MICE เชียงใหม่พร้อม” ให้ความรู้กับนักเรียน นักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะและความสนใจในการทำหน้าที่ผู้ ประสานงานการจัดประชุม (liaison) ของจังหวัดเชียงใหม่


“การดำเนินงานตามแผนแม่บทระยะแรกปี 2556 ช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ วัดจากที่เชียงใหม่ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดประชุมระดับนานาชาติหลายๆ งาน ทั้งนี้ได้สร้างความตื่นตัวในกลุ่มผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน ตลอดจนคนรุ่นใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ให้หันมาสนใจอุตสาหกรรมไมซ์มากขึ้น เตรียมความพร้อมต่อยอดในการขยายการรับรู้สู่ตลาดในระดับภูมิภาคต่อไป”


รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต่อไปว่า “ในปี 2557 ทางจังหวัดกำหนดแผนจะเพิ่มกิจกรรมต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง และต่อยอดกิจกรรมจากกรอบความร่วมมือที่ได้ทำมาในอดีตให้มากขึ้น โดยจะเน้นตลาดอาเซียน เอเชีย และตะวันออกกลางเป็นหลัก ขณะเดียวกันยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรบุคคลต่อเนื่อง โดยสนับสนุนการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการมากขึ้นในทุกกลุ่มเป้าหมายทั้งกลุ่มผู้ ประกอบการ หน่วยราชการ นักศึกษา และคณาจารย์”


เชียงใหม่มีศักยภาพสูงมากในการพัฒนาเป็นเมืองไมซ์เนื่องจากมีทรัพยากร ด้านการท่องเที่ยวที่หลากหลาย มีเอกลักษณ์ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ เป็นเมืองที่เป็นที่รู้จักและได้รับการยกย่องจากองค์กรและสื่อชั้นนำหลาย ประเภทจากทั่วโลก อาทิ โลก อาทิ นิตยสาร Travel & Leisure ได้เลือกให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกอันดับ 2 ในปี 2010 และอันดับที่ 10 ในปี 2013 และจากการโหวตของผู้อ่าน Lonely Planet จัดเชียงใหม่ให้อยู่ในอันดับ 10 เมืองน่าเที่ยวที่สุดในโลกในปี 2011


ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงไมซ์ เชียงใหม่มีจำนวนโรงแรมห้องพักรวมกว่า 33,000 ห้องมีสนามบินนานาชาติใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทย รองจากสนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินดอนเมืองตามลำดับ มีเที่ยวบินในประเทศสัปดาห์ละ 401 เที่ยวบิน และระหว่างประเทศสัปดาห์ละ 76 เที่ยวบิน ปัจจุบันสนามบินนานาชาติจังหวัดเชียงใหม่รองรับผู้โดยสารได้ 8 ล้านคนต่อปี รองรับการขนส่งสินค้าทางอากาศได้ปีละ 30,000 ตันมีเที่ยวบินขึ้นลงรวม 12,377 เที่ยวบิน โดยเฉพาะจากจีนและฮ่องกง ซึ่งล้วนเป็นเส้นทางที่สำคัญในการนำการประชุมและการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อ เป็นรางวัล (Meeting & Incentive) สู่จังหวัดเชียงใหม่อย่างต่อเนื่องในขณะนี้


ในปี พ.ศ. 2555 อุตสาหกรรมไมซ์ในเชียงใหม่มีมูลค่ารวม 3,859 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ทั้งในและต่างประเทศ จำนวน 68,976 คน มีการจัดงานในอุตสาหกรรมไมซ์ 490 ครั้ง ด้านจังหวัดเชียงใหม่นั้นคาดในปี 56 อุตสาหกรรมไมซ์ของจังหวัดจะมีอัตราการเติบโตด้านจำนวนคนร้อยละ 5 คิดเป็นจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ 72,424 คน ด้านรายได้คาดว่าจะเติบโตสูงถึงร้อยละ 10 คิดเป็นจำนวน 4,245 ล้านบาท สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศนั้น สิ้นปี 2556 ทีเส็บตั้งเป้าการเติบโตของธุรกิจไมซ์ในประเทศร้อยละ 15 คิดเป็นจำนวนผู้เดินทางกลุ่มไมซ์ 4.3 ล้านคน สร้างรายได้หมุนเวียนในประเทศ 13,706 ล้านบาท


กิจกรรมล่าสุดที่ทีเส็บและจังหวัดเชียงใหม่ร่วมกันดำเนินการได้แก่ กิจกรรมสัมมนาโครงการ “ประชุมเมืองไทย มั่นใจเชียงใหม่พร้อม” ระหว่างวันที่ 26-28 กันยายน 2556 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษาโดยภายในงานจัดให้มีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับภาพรวมอุตสาหกรรม ไมซ์ของประเทศไทย เมืองไมซ์ซิตี้ รวมทั้งรูปแบบการจัดประชุมภายในประเทศ


# # #


For more information please contact:

Corporate Communications Division,

Thailand Convention & Exhibition Bureau (Public Organisation) Tel. 02-694-6000 

Ms Arisara Thanuplang

Email: arisara_t@tceb.or.th

Mr. Pishnu Plaikaew

Email: pishnu_p@tceb.or.th

แชร์บทความ