banner

การประชุมวิชาการนานาชาติ “การพัฒนายาในปัจจุบัน ครั้งที่ 7” และ งานประชุมวิชาการนานาชาติ “กระท่อมโลก” ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เป็นต้นมา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ริเริ่มจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง การพัฒนายาในปัจจุบัน หรือ The Current Drug Development (CDD) เป็นครั้งแรก เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายา ซึ่งเป็นฐานความรู้สำคัญในการพัฒนางานด้านเภสัชศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นเวทีให้กับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ทั้งในระดับประเทศ และนานาประเทศอีกด้วย และสืบเนื่องจากการประกาศของรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้ปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้อย่างเสรี ส่งผลให้ภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคการศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนาในประเทศมีการตื่นตัวขึ้นอย่างมาก ด้วยกระท่อมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยและพบได้มากโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ด้วยความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ ประกอบกับความน่าสนใจของพืชกระท่อมทั้งที่เป็นยาเสพติด สารสำคัญที่มีฤทธิ์หลากหลาย วัฒนธรรมการรับประทานในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับกระท่อมเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นอย่างมาก และ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางงานวิจัยและพัฒนาศักยภาพของพืชกระท่อม และแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิจัยระดับนานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงได้มีแนวคิดในการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 7th Current Drug Development International Conference 2023 & 1st World Kratom Conference (CDD2023 & WKC2023) ขึ้นในปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) โดยได้กำหนดหัวข้องานประชุมหลัก เป็น “นวัตกรรมด้านเภสัชกรรม โภชนเภสัช และเวชสำอาง เพื่อสุขภาพ (Innovations in Pharmaceuticals, Nutraceuticals and Cosmeceuticals for Health)” และ กำหนดเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวกับพืชกระท่อมภายใต้หัวข้อ “Global issues of Kratom Development” โดยการจัดงานประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการนานาชาติ “การพัฒนายาในปัจจุบัน ครั้งที่ 7” และ งานประชุมวิชาการนานาชาติ “กระท่อมโลก” ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566 นี้ จึงเป็นการติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทันตามโลก และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ไม่เพียงแต่การมุ่งเน้นใช้ฐานองค์ความรู้มาใช้ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เท่านั้น ยังกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เดิมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตที่ได้ยังเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของบุคลากรในทุกระดับ ทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรม และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาพืชกระท่อมสู่พืชเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพของพืชกระท่อม ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพื่อให้ก้าวทันตามโลก และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมมือกันเพื่อพัฒนางานให้มีผลกระทบต่อวงการวิชาการที่สูงขึ้น ซึ่งในการประชุมประกอบด้วยสาขาความรู้ด้านเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5 ด้าน ดังนี้ 1. Current perspectives on Kratom (Mitragyna speciose) research 2. Natural Product and Traditional Medicine 3. Pharmaceutical Biotechnology and Pharmaceutical Chemistry 4. Pharmaceutical Technology and Drug Delivery System 5. Cosmeceuticals and Nutraceuticals และ กำหนดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับพืชกระท่อม และอาจรวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอื่น ๆ ดังนี้ 1. Pharmacognosy and Natural products chemistry 2. Pharmacology and Toxicology 3. Agricultural technology / Precision agriculture 4. Pharmaceuticals / Nutraceuticals and Cosmeceuticals development 5. Biotechnology and Molecular biology การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรหลัก (Keynote speaker) และมีนักวิจัยรับเชิญ (Invited Speaker) มาร่วมบรรยายในแต่ละด้าน นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยในแต่ละสถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย องค์กรต่าง ๆ จากภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในรูปแบบปากเปล่าและโปสเตอร์

แชร์บทความ

Date

22 ส.ค. - 25 ส.ค. 2566

Venue

โรงแรม โนโวเทล ภูเก็ต ซิตี้ โภคีธรา , ภูเก็ต

Website

Link

Title

การประชุมวิชาการนานาชาติ “การพัฒนายาในปัจจุบัน ครั้งที่ 7” และ งานประชุมวิชาการนานาชาติ “กระท่อมโลก” ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566

Detail

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008) เป็นต้นมา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ริเริ่มจัดงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ เรื่อง การพัฒนายาในปัจจุบัน หรือ The Current Drug Development (CDD) เป็นครั้งแรก เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะใช้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิทยาการ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนายา ซึ่งเป็นฐานความรู้สำคัญในการพัฒนางานด้านเภสัชศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นเวทีให้กับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา ได้นำเสนอผลงานทางวิชาการ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ ทั้งในระดับประเทศ และนานาประเทศอีกด้วย และสืบเนื่องจากการประกาศของรัฐบาล ในปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้ปลดพืชกระท่อมออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 เปิดโอกาสให้ใช้ประโยชน์จากพืชกระท่อมได้อย่างเสรี ส่งผลให้ภาคการเกษตร ภาคธุรกิจ รวมถึงภาคการศึกษาเพื่อการวิจัยและพัฒนาในประเทศมีการตื่นตัวขึ้นอย่างมาก ด้วยกระท่อมเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศไทยและพบได้มากโดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ไปจนถึงคาบสมุทรมลายู ด้วยความได้เปรียบเชิงภูมิศาสตร์ ประกอบกับความน่าสนใจของพืชกระท่อมทั้งที่เป็นยาเสพติด สารสำคัญที่มีฤทธิ์หลากหลาย วัฒนธรรมการรับประทานในพื้นที่ภาคใต้ ทำให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงมีงานวิจัยเกี่ยวกับกระท่อมเป็นลำดับต้นๆ ของโลก ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อ COVID-19 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพเป็นอย่างมาก และ เพื่อเป็นการกำหนดทิศทางงานวิจัยและพัฒนาศักยภาพของพืชกระท่อม และแลกเปลี่ยนความรู้จากนักวิจัยระดับนานาชาติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์จึงได้มีแนวคิดในการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ The 7th Current Drug Development International Conference 2023 & 1st World Kratom Conference (CDD2023 & WKC2023) ขึ้นในปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) โดยได้กำหนดหัวข้องานประชุมหลัก เป็น “นวัตกรรมด้านเภสัชกรรม โภชนเภสัช และเวชสำอาง เพื่อสุขภาพ (Innovations in Pharmaceuticals, Nutraceuticals and Cosmeceuticals for Health)” และ กำหนดเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวกับพืชกระท่อมภายใต้หัวข้อ “Global issues of Kratom Development” โดยการจัดงานประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการนานาชาติ “การพัฒนายาในปัจจุบัน ครั้งที่ 7” และ งานประชุมวิชาการนานาชาติ “กระท่อมโลก” ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2566 นี้ จึงเป็นการติดตามความก้าวหน้าของการพัฒนายาและเภสัชภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อให้ก้าวทันตามโลก และสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ไม่เพียงแต่การมุ่งเน้นใช้ฐานองค์ความรู้มาใช้ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เท่านั้น ยังกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เดิมอย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตที่ได้ยังเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของบุคลากรในทุกระดับ ทั้งภาคการผลิต อุตสาหกรรม และนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ ยังถือเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาพืชกระท่อมสู่พืชเศรษฐกิจและพัฒนาศักยภาพของพืชกระท่อม ให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เพื่อให้ก้าวทันตามโลก และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในระดับนานาชาติ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นในการร่วมมือกันเพื่อพัฒนางานให้มีผลกระทบต่อวงการวิชาการที่สูงขึ้น ซึ่งในการประชุมประกอบด้วยสาขาความรู้ด้านเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ 5 ด้าน ดังนี้ 1. Current perspectives on Kratom (Mitragyna speciose) research 2. Natural Product and Traditional Medicine 3. Pharmaceutical Biotechnology and Pharmaceutical Chemistry 4. Pharmaceutical Technology and Drug Delivery System 5. Cosmeceuticals and Nutraceuticals และ กำหนดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่เกี่ยวกับพืชกระท่อม และอาจรวมไปถึงผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติอื่น ๆ ดังนี้ 1. Pharmacognosy and Natural products chemistry 2. Pharmacology and Toxicology 3. Agricultural technology / Precision agriculture 4. Pharmaceuticals / Nutraceuticals and Cosmeceuticals development 5. Biotechnology and Molecular biology การประชุมวิชาการในครั้งนี้ ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมาเป็นวิทยากรหลัก (Keynote speaker) และมีนักวิจัยรับเชิญ (Invited Speaker) มาร่วมบรรยายในแต่ละด้าน นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยในแต่ละสถาบันการศึกษา ศูนย์วิจัย องค์กรต่าง ๆ จากภาครัฐและเอกชน รวมถึงนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาเข้าร่วมในการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งในรูปแบบปากเปล่าและโปสเตอร์

แชร์บทความ